เมนู

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วย
จิตที่เป็นอัปปีติกธรรม ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นสัปปีติกธรรม ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ ย่อมเกิดขึ้น.
7. สัปปีติกธรรม และอัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัปปีติกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

คือ เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 8)
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปีติกธรรม และปีติ ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 9)
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปีติกธรรม และปีติ ย่อมเกิดขึ้น.

4. อนันตรปัจจัย


[686] 1. สัปปีติกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปีติกธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย